Patent ductus arteriosus (PDA)
Patent ductus arteriosus (PDA)
ประวัติ
Galen รู้จัก ductus arteriosus แล้ว แต่หน้าที่ของมันยังไม่ทราบ จนถึงสมัยของ
William Harvey ได้บันทึกหน้าที่ของ ductus arteriosus และ foramen ovale
ไว้อย่างถูกต้อง
Gibson ในปี 1900 ได้บรรยาย ductus arteriosus ที่ไม่ปิดหลังเกิด ทำให้เกิด condition ที่เรียก patent
ductus arteriosus พร้อมทั้งบรรยายถึงลักษณะของ machinery murmur ที่เกิดขึ้นด้วย
บางท่านจึงเรียก murmur นี้ว่า Gibson’murmur
Gross and Hubbard ในปี 1938 เป็นผู้สามารถทำการผูก ductus arteriosus ได้เป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก
และเป็นการเปิดศักราช การผ่าตัดโรคหัวใจขึ้น
อุบัติการณ์
เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบบ่อยรองลงมาจาก VSD พบประมาณ 12-15% ของโรคหัวใจแต่กำเนิด
ประมาณ 15% ของคนไข้ที่เป็น PDA จะมีความพิการของหัวใจอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น VSD,
coarctation of aorta, pulmonary stenosis, aortic stenosis หรือในโรคหัวใจที่เขียวบางอย่าง
เช่น aortic atresia, pulmonary atresia
พบในเด็กผู้หญิงมากกว่า เด็กผู้ชายประมาณ 3 เท่า
Etiologic factors
พบว่า ในมารดาที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ถ้าเกิดเป็น german measles ขึ้น
ลูกที่เกิดมาประมาณ 50% จะมีโรคหัวใจโดยเฉพาะ PDA ร่วมไปกับอาการอื่นเช่น microcephaly,
cataracts, deafness บางราย อาจจะมีตับโต มี thrombocytopenia โรคหัวใจที่พบใน rubella baby มักจะเป็น PDA, pulmonary
stenosis , VSD, peripheral pulmonary artery stenois
พบน้อยกว่า 2% ของผู้ป่วย PDA ทั้งหมด จะมีประวัติการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ในมารดาขณะตั้งครรภ์
สาเหตุอื่นของการเกิด PDA ที่อาจจะพบได้คือ prematurity เด็กเกิดในที่สูง ( high
altitudes) หรือสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้เกิด hypoxiaขึ้นหลังคลอด ก็อาจจะทำให้ไม่ปิดตามปกติ
นอกจากนี้ อาจจะพบ PDA ได้บ่อยกว่า ในครอบครัวที่เคยเป็น คือพบมากกว่า 4% ของเด็กที่เป็น PDA มักจะมีคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดด้วย
Hemodynamics
เลือดไหล ออกจาก aorta ไปยัง pulmonary artery ทั้งในช่วง systole และ diastole ทำให้เกิด continuous
murmur ขึ้น จำนวนเลือดที่ผ่านมายังปอดถ้ามาก เมื่อผ่าน mitral valves จะทำให้เกิด middiastolic
rumbling murmur ของ relative mitral stenosis ในเด็กอ่อน ขณะที่ความดันในปอดยังสูงอยู่
อาจมีเลือดไหลผ่าน ductus เฉพาะในช่วง systole เท่านั้นเอง
จึงฟังได้เฉพาะ systole murmur ต่อเมื่อ ความดันในปอดลดลง murmur จึงจะเปลี่ยนเป็น
continuous murmur ดังกล่าว
และเนื่องจากมีการไหลของเลือดจาก aorta รั่วไป pulmonary artery ทำให้ systemic diastolic pressure จึงต่ำลง
ทำให้มี pulse pressure กว้าง เรียกว่ามี
bounding pulse ด้วย
Patent ductus arteriosus (PDA)
ประวัติ
Galen รู้จัก ductus arteriosus แล้ว แต่หน้าที่ของมันยังไม่ทราบ จนถึงสมัยของ
William Harvey ได้บันทึกหน้าที่ของ ductus arteriosus และ foramen ovale
ไว้อย่างถูกต้อง
Gibson ในปี 1900 ได้บรรยาย ductus arteriosus ที่ไม่ปิดหลังเกิด ทำให้เกิด condition ที่เรียก patent
ductus arteriosus พร้อมทั้งบรรยายถึงลักษณะของ machinery murmur ที่เกิดขึ้นด้วย
บางท่านจึงเรียก murmur นี้ว่า Gibson’murmur
Gross and Hubbard ในปี 1938 เป็นผู้สามารถทำการผูก ductus arteriosus ได้เป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก
และเป็นการเปิดศักราช การผ่าตัดโรคหัวใจขึ้น
อุบัติการณ์
เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบบ่อยรองลงมาจาก VSD พบประมาณ 12-15% ของโรคหัวใจแต่กำเนิด
ประมาณ 15% ของคนไข้ที่เป็น PDA จะมีความพิการของหัวใจอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น VSD,
coarctation of aorta, pulmonary stenosis, aortic stenosis หรือในโรคหัวใจที่เขียวบางอย่าง
เช่น aortic atresia, pulmonary atresia
พบในเด็กผู้หญิงมากกว่า เด็กผู้ชายประมาณ 3 เท่า
Etiologic factors
พบว่า ในมารดาที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ถ้าเกิดเป็น german measles ขึ้น
ลูกที่เกิดมาประมาณ 50% จะมีโรคหัวใจโดยเฉพาะ PDA ร่วมไปกับอาการอื่นเช่น microcephaly,
cataracts, deafness บางราย อาจจะมีตับโต มี thrombocytopenia โรคหัวใจที่พบใน rubella baby มักจะเป็น PDA, pulmonary
stenosis , VSD, peripheral pulmonary artery stenois
พบน้อยกว่า 2% ของผู้ป่วย PDA ทั้งหมด จะมีประวัติการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ในมารดาขณะตั้งครรภ์
สาเหตุอื่นของการเกิด PDA ที่อาจจะพบได้คือ prematurity เด็กเกิดในที่สูง ( high
altitudes) หรือสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้เกิด hypoxiaขึ้นหลังคลอด ก็อาจจะทำให้ไม่ปิดตามปกติ
นอกจากนี้ อาจจะพบ PDA ได้บ่อยกว่า ในครอบครัวที่เคยเป็น คือพบมากกว่า 4% ของเด็กที่เป็น PDA มักจะมีคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดด้วย
เลือดไหล ออกจาก aorta ไปยัง pulmonary artery ทั้งในช่วง systole และ diastole ทำให้เกิด continuous
murmur ขึ้น จำนวนเลือดที่ผ่านมายังปอดถ้ามาก เมื่อผ่าน mitral valves จะทำให้เกิด middiastolic
rumbling murmur ของ relative mitral stenosis ในเด็กอ่อน ขณะที่ความดันในปอดยังสูงอยู่
อาจมีเลือดไหลผ่าน ductus เฉพาะในช่วง systole เท่านั้นเอง
จึงฟังได้เฉพาะ systole murmur ต่อเมื่อ ความดันในปอดลดลง murmur จึงจะเปลี่ยนเป็น
continuous murmur ดังกล่าว
และเนื่องจากมีการไหลของเลือดจาก aorta รั่วไป pulmonary artery ทำให้ systemic diastolic pressure จึงต่ำลง
ทำให้มี pulse pressure กว้าง เรียกว่ามี
bounding pulse ด้วย
อาการและอาการแสดง
ในเด็กเล็ก หรือ preterm ถ้า ductusใหญ่
เด็กก็จะมีอาหารของหัวใจวายเช่นเดียวกับพวก large left to right shunt ทั่วไป เด็กจะผอม
หน้าอกด้านซ้ายนูน หอบ เป็นหวัด ปอดอักเสบง่าย
ถ้าหากเป็น PDA ที่ร่วมกับ rubella syndrome อาจจะพบอาการอื่นของ rubella syndrome ร่วมกับเด็กโต ส่วนมากจะไม่ค่อยมีอาการเพราะรูไม่ใหญ่มาก
อาจจะมีอาการเล็กน้อย เช่นเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่ค่อยแข็งแรงเป็นต้น
การตรวจร่างกาย จะคลำได้ thrill ที่บริเวณ left
parasternal border ด้านบน ฟังได้ continuous murmur ( machinary murmur) บริเวณนั้น
และอาจจะฟังได้ middiastolic rumbing murmur ที่ apex ถ้า PDA มีขนาดใหญ่ P2 อาจจะปกติ
หรือดังขึ้น ขึ้นกับความดันเลือดใน pulmonary artery
บางครั้ง อาจจะฟังได้แค่
systolic murmur บริเวณ left upper stenal border เท่านั้นเอง
ในเด็กที่ความดันเลือดในปอดยังสูงอยู่ หรือในเด็กโตที่เกิด Eisenmenger syndrome
ขึ้น
เด็กที่เป็น PDA จะมี bounding pulse คลำชีพจรได้แรง
เนื่องจาก pulse pressure กว้างจากการรั่วของเลือดจาก aorta ไปยัง pulmonary
artery
การถ่ายภาพรังสึ
ขึ้นกับขนาดของ ductus
ถ้าใหญ่ หัวใจจะโต โดยเฉพาะ left atrium และ left ventricle มีเลือดไปปอดเพิ่มขึ้น
ในเด็กโต PDA ไม่ใหญ่ตามตัว
ขนาดของหัวใจจึงไม่ใหญ่มาก หรืออาจจะปกติ
บางราย จะเห็น aorta ใหญ่ขึ้น
และในบางราย โดยเฉพาะในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ อาจจะเห็น calcification ของ ductus ได้
Electrocardiography
อาจจะพบ biventricular
hypertrophy ในผู้ป่วยเด็กเล็กๆที่ ductus มีขนาดโตๆ
ในเด็กโต EKG มักจะปกติ หรืออาจจะมีแค่ LVH เท่านั้น EKG ไม่มีลักษณะอะไรบ่งเฉพาะว่าจะเป็น PDA แต่จะใช้บอก severity ของโรคเท่านั้นเอง
Echocardiography
เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับการตรวจดู
PDA
และสามารถดูขนาดของหัวใจทั้งสี่ห้อง
ว่ามีลักษณะโต หนา หรือปกติได้แม่นยำ ควรจะได้ทำทุกรายในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็น PDA
Cardiac Catheterization
การสวนหัวใจ
จะพบว่ามีการเพิ่ม oxygen saturation ใน pulmonary artery ความดันใน
pulmonary artery และใน right ventricle จะสูงขึ้นมากน้อยแล้วแต่ขนาดของ
ductus
ค่า diastolic pressure ของ aorta จะต่ำลง และ systolic
pressure สูงขึ้นเล็กน้อย บางราย จะสามารถสอดสาย catheter จาก pulmonary
artery ผ่าน ductuc ไปออก aorta ได้ ถ้าสอด catheter ผ่านไปไม่ได้ การทำ aortogram ฉีดสีบริเวณ
ต่ำกว่า aortic arch เล็กน้อย ก็จะเห็น ductus ได้ชัดเจนขึ้น
การแยกโรค
ต้องแยกจากโรคที่มีลักษณะของ murmurคล้ายๆกัน เช่น aorta-pulmonary
windows, truncus arteriosus, VSD+AR, coronary A-V fistula และ rupture sinus
of valsalva เป็นต้น ซึ่งจะแยกได้แน่นอน ก็ต้องอาศัยการตรวจ echocardiography,การสวนหัวใจ
Prognosis
ในเด็กโต ส่วนมาก prognosis ดี เพราะ ductus ไม่ค่อยใหญ่
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นคือ IE ซึ่งพบได้เรื่อยๆ ในผู้ป่วยโรคนี้
ในเด็กเล็ก
ถ้ามีอาการหัวใจวาย ควรรักษาโดยการให้ยา และทำการผ่าตัด
ในเด็ก premature ที่มี PDA และเกิดอาการหัวใจวายหลังจากการให้การรักษาแบบหัวใจวายแล้ว
เด็กอาจดีขึ้น และ PDA อาจปิดไปในที่สุด PDA ที่ปิดได้เอง
มักจะพบในเด็ก premature เป็นส่วนใหญ่ ในเด็ก fullterm พบน้อย
การติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ จะช่วยอย่างมากในการรักษาผู้ป่วย และบอกได้ว่า เมื่อไหร่
จะทำการปิด PDA ดี
การรักษา
ปัจจุบัน
ในเด็กแรกเกิดถ้าเป็น premature มักจะรักษาโดยการให้ยา indomethacin ซึ่งเป็น prostaglandin
inhibitor ในขนาด 0.1-0.3 mg/Kg พบว่าสามารถปิดได้ประมาณร้อยละ 80-90 ถ้าให้ภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
อาจจะให้ยาขนาดนี้ซ้ำอีก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 12-24 ชม ถ้ายังไม่ปิด แต่ถ้าหากว่า เป็น เด็กคลอดครบกำหนด บางรายงานว่า
อาจจะไม่ได้ผล แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้ผลประมาณร้อยละ 76% เมื่อให้ยา
หลังวันที่สี่หลังคลอด เมื่อแน่ใจว่า PDA ของผู้ป่วยไม่ปิดเอง
ซึ่งปกติจะปิดได้เองใน 3-4 วันหลังคลอด แต่การให้ยานี้ ในเด็กโต
ที่มีอายุมากกว่าหนึ่งเดือน มักจะไม่ได้ผล ไม่แนะนำให้เพื่อการปิด PDA
เนื่องจาก surgical risk
ของโรคนี้ต่ำมากกว่า IE risk จึงสมควรทำการผ่าตัด
หรือใส่ขดลวดโดยการสวนหัวใจในผู้ป่วยทุกรายที่ให้การวินิจฉัยว่าเป็น PDA
แต่ยังไม่เกิด Eisenmenger syndrome ถ้าหากว่า เด็กมีอาการหัวใจวายอยู่
ต้องให้การรักษาทางยาร่วมด้วย
อาการและอาการแสดง
ในเด็กเล็ก หรือ preterm ถ้า ductusใหญ่
เด็กก็จะมีอาหารของหัวใจวายเช่นเดียวกับพวก large left to right shunt ทั่วไป เด็กจะผอม
หน้าอกด้านซ้ายนูน หอบ เป็นหวัด ปอดอักเสบง่าย
ถ้าหากเป็น PDA ที่ร่วมกับ rubella syndrome อาจจะพบอาการอื่นของ rubella syndrome ร่วมกับเด็กโต ส่วนมากจะไม่ค่อยมีอาการเพราะรูไม่ใหญ่มาก
อาจจะมีอาการเล็กน้อย เช่นเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่ค่อยแข็งแรงเป็นต้น
การตรวจร่างกาย จะคลำได้ thrill ที่บริเวณ left
parasternal border ด้านบน ฟังได้ continuous murmur ( machinary murmur) บริเวณนั้น
และอาจจะฟังได้ middiastolic rumbing murmur ที่ apex ถ้า PDA มีขนาดใหญ่ P2 อาจจะปกติ
หรือดังขึ้น ขึ้นกับความดันเลือดใน pulmonary artery
บางครั้ง อาจจะฟังได้แค่
systolic murmur บริเวณ left upper stenal border เท่านั้นเอง
ในเด็กที่ความดันเลือดในปอดยังสูงอยู่ หรือในเด็กโตที่เกิด Eisenmenger syndrome
ขึ้น
เด็กที่เป็น PDA จะมี bounding pulse คลำชีพจรได้แรง
เนื่องจาก pulse pressure กว้างจากการรั่วของเลือดจาก aorta ไปยัง pulmonary
artery
การถ่ายภาพรังสึ
ขึ้นกับขนาดของ ductus
ถ้าใหญ่ หัวใจจะโต โดยเฉพาะ left atrium และ left ventricle มีเลือดไปปอดเพิ่มขึ้น
ในเด็กโต PDA ไม่ใหญ่ตามตัว
ขนาดของหัวใจจึงไม่ใหญ่มาก หรืออาจจะปกติ
บางราย จะเห็น aorta ใหญ่ขึ้น
และในบางราย โดยเฉพาะในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ อาจจะเห็น calcification ของ ductus ได้
Electrocardiography
อาจจะพบ biventricular
hypertrophy ในผู้ป่วยเด็กเล็กๆที่ ductus มีขนาดโตๆ
ในเด็กโต EKG มักจะปกติ หรืออาจจะมีแค่ LVH เท่านั้น EKG ไม่มีลักษณะอะไรบ่งเฉพาะว่าจะเป็น PDA แต่จะใช้บอก severity ของโรคเท่านั้นเอง
Echocardiography
เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับการตรวจดู
PDA
และสามารถดูขนาดของหัวใจทั้งสี่ห้อง
ว่ามีลักษณะโต หนา หรือปกติได้แม่นยำ ควรจะได้ทำทุกรายในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็น PDA
Cardiac Catheterization
การสวนหัวใจ
จะพบว่ามีการเพิ่ม oxygen saturation ใน pulmonary artery ความดันใน
pulmonary artery และใน right ventricle จะสูงขึ้นมากน้อยแล้วแต่ขนาดของ
ductus
ค่า diastolic pressure ของ aorta จะต่ำลง และ systolic
pressure สูงขึ้นเล็กน้อย บางราย จะสามารถสอดสาย catheter จาก pulmonary
artery ผ่าน ductuc ไปออก aorta ได้ ถ้าสอด catheter ผ่านไปไม่ได้ การทำ aortogram ฉีดสีบริเวณ
ต่ำกว่า aortic arch เล็กน้อย ก็จะเห็น ductus ได้ชัดเจนขึ้น
การแยกโรค
ต้องแยกจากโรคที่มีลักษณะของ murmurคล้ายๆกัน เช่น aorta-pulmonary
windows, truncus arteriosus, VSD+AR, coronary A-V fistula และ rupture sinus
of valsalva เป็นต้น ซึ่งจะแยกได้แน่นอน ก็ต้องอาศัยการตรวจ echocardiography,การสวนหัวใจ
Prognosis
ในเด็กโต ส่วนมาก prognosis ดี เพราะ ductus ไม่ค่อยใหญ่
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นคือ IE ซึ่งพบได้เรื่อยๆ ในผู้ป่วยโรคนี้
ในเด็กเล็ก
ถ้ามีอาการหัวใจวาย ควรรักษาโดยการให้ยา และทำการผ่าตัด
ในเด็ก premature ที่มี PDA และเกิดอาการหัวใจวายหลังจากการให้การรักษาแบบหัวใจวายแล้ว
เด็กอาจดีขึ้น และ PDA อาจปิดไปในที่สุด PDA ที่ปิดได้เอง
มักจะพบในเด็ก premature เป็นส่วนใหญ่ ในเด็ก fullterm พบน้อย
การติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ จะช่วยอย่างมากในการรักษาผู้ป่วย และบอกได้ว่า เมื่อไหร่
จะทำการปิด PDA ดี
การรักษา
ปัจจุบัน
ในเด็กแรกเกิดถ้าเป็น premature มักจะรักษาโดยการให้ยา indomethacin ซึ่งเป็น prostaglandin
inhibitor ในขนาด 0.1-0.3 mg/Kg พบว่าสามารถปิดได้ประมาณร้อยละ 80-90 ถ้าให้ภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
อาจจะให้ยาขนาดนี้ซ้ำอีก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 12-24 ชม ถ้ายังไม่ปิด แต่ถ้าหากว่า เป็น เด็กคลอดครบกำหนด บางรายงานว่า
อาจจะไม่ได้ผล แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้ผลประมาณร้อยละ 76% เมื่อให้ยา
หลังวันที่สี่หลังคลอด เมื่อแน่ใจว่า PDA ของผู้ป่วยไม่ปิดเอง
ซึ่งปกติจะปิดได้เองใน 3-4 วันหลังคลอด แต่การให้ยานี้ ในเด็กโต
ที่มีอายุมากกว่าหนึ่งเดือน มักจะไม่ได้ผล ไม่แนะนำให้เพื่อการปิด PDA
เนื่องจาก surgical risk
ของโรคนี้ต่ำมากกว่า IE risk จึงสมควรทำการผ่าตัด
หรือใส่ขดลวดโดยการสวนหัวใจในผู้ป่วยทุกรายที่ให้การวินิจฉัยว่าเป็น PDA
แต่ยังไม่เกิด Eisenmenger syndrome ถ้าหากว่า เด็กมีอาการหัวใจวายอยู่
ต้องให้การรักษาทางยาร่วมด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น